วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของการสื่อสาร

พัฒนาการของการสื่อสารและเทคโนโลยี
ในปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย ผู้เขียนจะกล่าวถึงวิวัฒนาการของการสื่อสารตั้งแต่ยุคแรกของมนุษย์ดังนี้ เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆน่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน

(1) การสื่อสารด้วยการตีกลองให้สัญญาณ

(2) การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ

(3) การสื่อสารด้วยสัญญาณควัน





(4) การสื่อสารกันโดยการเขียนข้อความ ในกระดาษแล้วผูกติดกับขานกพิลาบ
ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิลาบ ดังรูปที่ (4) หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว


(5) การสื่อสารโดยใช้ม้าเร็ว ถือข้อความไปส่งตามหัวเมืองต่างๆ

รหัสมอร์ส
ต่อมาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้ ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิลาบ เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยีใหม่ โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษรตัวใด เช่น กระแสไฟฟ้าที่ไหลเป็นจังหวะ ยาว - ยาว - สั้น หมายถึง ตัวอักษร “ ก ” เป็นต้น การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข ท่านผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป คงเคยส่งโทรเลข การส่งโทรเลขในยุคแรกๆเป็นการส่งข้อความในรูปของรหัส สั้น-ยาว ดังที่กล่าวไปแล้ว รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส
รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว ซึ่งจะแทนด้วย . กับ - ( จุด กับ ขีด ) จุดเกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขของตัวอักษรต่างๆขึ้นมา รหัสมอร์สของสัญญาณโทรเลขภาษาไทยเป็นดังรายละเอียดข้างล่างนี้

ส่งโทรเลข
ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น-ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลข ดูรูปคันเคาะสัญญาณโทรเลขจากรูปที่ (7)

รูปที่ (7) คันเคาะสัญญาณโทรเลขแบบมอร์ส
และในการส่งโทรเลข เจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะสามารถส่งโทรเลขได้ ดูรูปการส่งโทรเลขของพนักงานโทรเลขจากรูปที่ (8)

รูปที่ (8) พนักงานโทรเลขกำลังเคาะคันเคาะเพื่อส่งโทรเลขด้วยรหัสมอร์ส
ต่อมาได้มีการนำเอารหัสมอร์สนี้มาประยุกต์ใช้ในการส่งสัญญาณไฟ โดยการเปิด-ปิดไฟเป็นจังหวะสั้น- ยาว สลับกันไป ถ้าเปิดไฟนาน แสงจากดวงไฟจะเรียกว่าแสงวาบ ถ้าเปิดไฟในช่วงเวลาสั้นๆ แสงไฟจะเรียกว่าแสงวับ
- - . สัญญาณไฟจะอ่านว่า วาบ วาบ วับ แทนตัว ก
- . - . วาบ วับ วาบ วับ แทนตัว ข
- . - วาบ วับ วาบ แทนตัว ค
- . - - . วาบ วับ วาบ วาบ วับ แทนตัว ง
- . . - . วาบ วับ วับ วาบ วับ แทนตัว จ
- - - - วาบ วาบ วาบ วาบ แทนตัว ฉ

เครื่องโทรพิมพ์
เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็นอย่างมากและใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคนเครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลขแต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส ดังรูปที่ (9) และรูปที่ (10)

รูปที่ (9) แถบรหัสมอร์สที่พิมพ์ด้วยเครื่องโทรพิมพ์

รูปที่ (10) เมื่อแถบกระดาษเจาะรูนี้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องส่งโทรเลข
ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ก็เพียงแต่นำแถบกระดาษที่เจาะรูแล้วดังรูปที่ (9) หรือรูปที่ (10) นี้ ไปป้อนให้กับเครื่องส่งโทรพิมพ์ เครื่องส่งโทรพิมพ์ก็จะส่งเป็นสัญญาณโทรเลขออกไป เครื่องพิมพ์โทรพิมพ์มีลักษณะดังรูปที่ (11) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเครื่องส่งโทรพิมพ์ก็คือเครื่องส่งโทรเลขที่ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เคาะคันเคาะเหมือนกับการส่งโทรเลขในรูปที่ (8)

รูปที่ (11) เครื่องโทรพิมพ์สำหรับส่งโทรเลข
ถ้าถามว่าการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สในปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ ไม่มี ) ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่มี ผิดครับ !! อาจะมี  มี ท่านผู้อ่านคิดว่า ( ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สก็ยังมีการใช้อยู่ ตัวอย่างเช่นในทางทหารยังมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้รหัสมอร์ส หรือสัญญาณไฟ เนื่องจากในยามฉุกเฉินหรือในยามสงคราม การสื่อสารในระบบอื่นๆอาจถูกตัดขาด การสื่อสารทางสัญญาณไฟหรือสัญญาณมอร์สก็จะถูกนำมาใช้แทนได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ถ้ามีการสื่อสารหลายรูปแบบย่อมจะดีกว่าที่จะมีการสื่อสารรูปแบบเดียว จากพัฒนาการของการสื่อสารจะสังเกตเห็นว่าการสื่อสารด้วยรหัสมอร์สก็พัฒนามาจากการสื่อสารด้วยสัญญาณควันหรือสัญญาณการตีเกราะเคาะไม้นั่นเอง แม้ว่าโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมากเพราะว่าส่งปั๊บก็ถึงปุ๊บ แต่การส่งโทรเลขก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นการส่งตัวอักษรทีละตัว และบ่อยครั้งที่ผู้รับแปลรหัสผิดและเกิดผลเสียหาย
โทรศัพท์
ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bel) จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมา และโทรศัพท์จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์ แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน

รูปที่ (12) เครื่องโทรศัพท์รุ่นแรกสร้างในประเทศญี่ปุ่น

รูปที่ (13) รูปโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ในตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้ หรือไปเที่ยว ป่า เขา ทะเล ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้ ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่า “ โทรศัพท์มือถือ ” ชื่อนี้เมื่อชาวต่างประเทศได้ยิน คงแปลกใจว่า แล้วโทรศัพท์แบบอื่นคนไทยใช้อะไรถือ ? โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็พัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน ดังรูปที่ (14)

รูปที่ (14) รูปวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้ติดต่อสื่อสารกัน
วิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหารและอาสาสมัครใช้ ไม่สามารถส่งและรับพร้อมกันได้ ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันตอนจบข้อความจะต้องมีคำลงท้ายว่า”เปลี่ยน “ คำว่า เปลี่ยน หมายความว่าให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนพูดบ้าง และวิทยุโทรศัพท์แบบนี้จะมีศูนย์กลางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง ดังรูปที่ (15)

รูปที่ (15) รูปสถานีแม่ข่ายของวิทยุโทรศัพท์ที่ ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้

การประชุมทางไกล
การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น(ไม่ได้หมายความว่าคนในปัจจุบันมีความสุขมากขึ้น) ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกันดังรูปที่ (16)

รูปที่ (16) การประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายสื่อสาร(videoconference)
และในการประชุมก็ไม่ต้องมีเอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึงข้อมูลออกมาได้ทันที ดังรูปที่ (17)

รูปที่ (17) การประชุมที่ใช้ข้อมูลร่วมกันบนเครือข่าย
การสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต
เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเราก็สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลกโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์ นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาฟิสิกส์ ส่วนหนึ่งก็มีการจัดเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง ถ้าท่านผู้อ่านสนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตของภาควิชาฟิสิกส์ ก็เปิดมาดูได้ที่ โฮมเพจฟิสิกส์ราชมงคล http://www.rmutphysics.com รับรองว่าท่านจะได้อะไรใหม่ๆกับไปบ้าง

รูปที่ (18) การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของภาควิชาฟิสิกส์
จากวิวัฒนาการของการสื่อสารที่มีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่รู้ว่าในอนาคตของการสื่อสารจะพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้โทรจิตติดต่อกันหรือไม่ และปัจจุบันมีรายงานการวิจัยออกมาว่า เราสามารถทำการทดลองเพื่อทำนายความคิดของผู้ถูกทดลองได้ แต่รายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะว่าในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถรู้ความคิดของคนได้โดยการมองดวงตา เนื่องจากใครๆก็รู้ว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ และเชื่อว่าในอนาคตก็อาจจะมีคนประดิษฐ์โทรจิตก็เป็นได้ และหวังว่าคนที่ประดิษฐ์โทรจิตได้เป็นคนแรกน่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และผู้เขียนอยากจะบอกท่านผู้อ่านและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่า ” คำว่าเป็นไปไม่ได้ “ ไม่ควรจะนำมาใช้บ่อยนัก เพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นหรือที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้ ก็เคยเป็นสิ่งที่ในสมัยก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ในสมัยก่อนพูดถึงขอมดำดินก็คงไม่มีใครคิดว่าคนไทยจะสามารถดำดินได้เหมือนขอม แต่ในปัจจุบันคนไทยก็สามารถดำดินไปโผล่ในที่ต่างๆได้แล้ว หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถคุยคนทุกมุมโลกโลกได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย

บรรณานุกรม
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น